โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา

หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งตำเสา ตำบลท่าชี อำเภอบ้านนาสาร
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84120

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

077-380117

โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา

นางวันเพ็ญ พัฒนประดิษฐ
ผู้อำนวยการ
โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา

Previous
Next

ประวัติ โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา

โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา ก่อตั้งปี พ.ศ. 2516 โดยการนำของนายวิรัตน์ สลัดแก้วผู้ใหญ่บ้านและบริจาคที่ดินโดย นางยินดี หาญปาน 5 ไร่ นายสมาน ส่องศรี 4 ไร่และนางห้วน เพชรรัตน์ 3 ไร่รวมที่ดิน 12 ไร่และชาวบ้านสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งตำเสาชั่วคราวหลังคาจาก 1 หลัง

โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสาเปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2516 เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 4  มีนักเรียน 50 คน มีครู 3 คน มีนายนุกูล ไทยทอง เป็นครูใหญ่ ปัจจุบันเนื้อที่จำนวน 12 ไร่ 58.5 ตารางวา ปี 2519 ได้งบสร้างอาคารไม้ถาวรแบบป.1ก 1 หลังจำนวน 3 ห้องเรียน ปัจจุบันมีนางวันเพ็ญ พัฒนประดิษฐ เป็นผู้อำนวยการ”โรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา”

วิสัยทัศน์/ปรัชญา

เป็นโรงเรียนดี เน้นคุณธรรมนำความรู้ ได้ตามมาตรฐานการศึกษา ชุมชนมีส่วนร่วม

พันธกิจ

– นักเรียน มีคุณภาพ มีความรู้คู่คุณธรรม ได้มาตรฐานการศึกษา
– ครูมีสมรรถนะวิชาชีพสูง มีคุณธรรมจริยธรรม
– โรงเรียนทันสมัย มีพร้อมเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้
– การบริหารจัดการแบบชุมชนมีส่วนร่วม
– สร้างอัตลักษณ์ให้โดดเด่น

เป้าประสงค์

1. เด็กมีประสบการณ์และพัฒนาการตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

2. ผู้เรียนมีทักษะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา

4. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล

5. นักเรียนมี สุขนิสัย สุขภาพกายและจิตที่ดี

6. ครูผู้สอนจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

7. ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้

8. ครูผู้สอนมีการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง ด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านเจตคติ

9. สถานศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

10. สถานศึกษามีสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัย แหล่งเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมที่ดี

11. องค์กรแห่งการเรียนรู้

12. ชุมชน ผู้ปกครองและองค์กรในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา(SBM)

13. ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีความพึงพอใจผลการจัดการศึกษา

14. สถานศึกษามีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น

15 .สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

นานาสาระ

นักวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนาขดลวดอัจฉริยะที่สามารถรักษาหลอดเลือด

นักวิทยาศาสตร์ ตามรายงานของสื่อต่างประเทศ นักวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนาขดลวดอัจฉริยะชนิดใหม่ เพื่อช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง ที่เกิดจากการปลูกถ่ายเหล่านี้ โครงนั่งร้านถูกห่อหุ้มด้วยสาร ซึ่งสามารถใช้เพื่อลดการอักเสบ และในขณะเดียวกันก็ส่งเสริม การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ การใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด เป็นการผ่าตัดทั่วไป ในการแงะหลอดเลือดแดงที่ถูกปิดกั้น บอลลูนเล็กๆ จะถูกใส่เข้าไปในหลอดเลือด และพองตัวที่การอุดตัน

จากนั้นใส่ขดลวด เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแคบลงอีก หลังจากที่ใส่บอลลูน และสิ่งอุดตันออกแล้ว น่าเสียดาย ที่มันไม่ได้ผลตามที่คาดไว้เสมอไป เมื่อขดลวดทำลายหลอดเลือด จะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดขยายตัว การตอบสนองต่อการอักเสบนี้ ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของสายสวนหลอดเลือด ขดลวดพิเศษที่ใช้รักษาหลอดเลือดทางแยก ทำจากโลหะนิตินอล เคลือบด้วยโพลีเมอร์ที่ย่อยสลายตัวเองภายใน เพื่อแก้ปัญหานี้ จึงมีการผลิตตัวยึดขั้นสูงขึ้น ในภายหลัง แม้ว่ายาที่เคลือบด้วยการคลายตัวของยา มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล เป็นอัลกอริทึมแบบสมมาตร สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลดิจิตอล

สามารถลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ได้ แต่ก็ยังสามารถป้องกันการเติบโตของเซลล์บุผนังหลอดเลือด ซึ่งจำเป็นสำหรับการรวมรากเทียมที่เหมาะสม การหาจุดสมดุลระหว่างทั้งสอง ได้กลายเป็นเป้าหมายของการวิจัยใหม่นี้ ตามหลักการแล้ว ถ้าเราสามารถป้องกัน การตอบสนองมากเกินไปและการแพร่กระจาย ของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ในขณะที่ในทางกลับกัน เราสามารถดึงดูดเซลล์บุผนังหลอดเลือด มาคลุมขดลวดได้

สิ่งนี้จะช่วยลดการตอบสนองต่อการอักเสบ และป้องกันไม่ให้เกิดการงอกใหม่ มีรายงานว่า ด้วยเหตุนี้ ทีมงานจึงได้สร้างสารเคลือบใหม่ที่มี เอกโซโซมชนิดภายนอกเซลล์ ซึ่งเป็นถุงเล็กๆ ที่เซลล์ทั้งหมดหลั่งออกมา เพื่อช่วยในการส่งข้อความของเอ็กโซโซม มันสามารถทำงานได้ 3วิธี

ประการแรก เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับเยื่อหุ้มเซลล์ ระบบภูมิคุ้มกันจะไม่รับรู้ว่า เป็นสิ่งแปลกปลอม เพื่อป้องกันการอักเสบ นอกจากนี้ยังสามารถส่งเสริม การเพิ่มจำนวนของเซลล์บุผนังหลอดเลือด บนพื้นผิวของโครง เพื่อประโยชน์เพิ่มเติมพวกเขายังสามารถมีส่วนร่วม และส่งเสริมการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ แต่ส่วนที่ฉลาดที่สุดคือ มันจะปล่อยทริกเกอร์ของเอ็กโซโซมก่อน โครงกระดูกอัจฉริยะนี้ จะไม่ปล่อยเอ็กโซโซมทั้งหมดในทันที ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาในการรักษา โดยจะปล่อยเอ็กโซโซมออกมา เพื่อตอบสนองต่อโมเลกุลที่เรียกว่า รีแอคทีฟออกซิเจนสปีชีส์ ROSเท่านั้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการตอบสนอง ต่อการอักเสบจะถูกผลิตในจำนวนมาก

มันสามารถถือได้ว่า เป็นฟังก์ชันการปลดปล่อยเอ็กโซโซมที่ชาญฉลาด กล่าวว่า การบาดเจ็บจากภาวะขาดเลือดเกิดขึ้น เมื่อการไหลเวียนของเลือดลดลงแล้ว สร้างใหม่ในขณะนี้ มีการผลิตสายพันธุ์ออกซิเจนที่ทำปฏิกิริยาออกมาจำนวนมากสมมติว่า หัวใจเกิดจากภาวะขาดเลือด ได้รับความเสียหาย เป็นชุดมิดเดิลแวร์ของหุ่นยนต์โอเพนซอร์ส ที่ได้รับการปรับปรุง จะกระตุ้นการปล่อยเอ็กโซโซมบนขดลวด และการรักษาแบบปฏิรูป จะส่งผ่านหลอดเลือด

เพื่อไปยังบริเวณที่เสียหาย ในการทดสอบในห้องปฏิบัติการทีมวิจัยพบว่า สมาร์ทสเตนท์สามารถปลดปล่อยเอ็กโซโซมได้ถึง60% ภายใน 48ชั่วโมง หลังจากได้รับบาดเจ็บโอเพนซอร์ส ซึ่งเกิดจากRos ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจำนวนมาก จากนั้น ทีมวิจัยได้ทำการทดสอบขดลวดเหล่านี้ กับหนูที่มีภาวะขาดเลือด และเปรียบเทียบกับขดลวดที่หลีกเลี่ยงยาอื่นๆ และขดลวดโลหะเปลือย พวกเขาพบว่า อุปกรณ์ใหม่ของพวกเขาทำงานได้ดีขึ้น

ในการป้องกันโรคกระดูกพรุน และส่งเสริมการเติบโตของเซลล์บุผนังหลอดเลือด และลดความเสียหายต่อหลอดเลือด ขดลวดที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพนี้ ช่วยในการรักษาหลอดเลือด และการซ่อมแซมภาวะขาดเลือด ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาฟื้นฟู หลังจากใส่ขดลวดแล้ว ขดลวดเป็นตัวพาที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเอกโซโซมชนิดภายนอกเซลล์ และเอกโซโซมชนิดภายนอกเซลล์ ทำให้ขดลวดในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อปลอดภัยขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นี่เป็นขั้นตอนที่มีแนวโน้มมาก แต่เห็นได้ชัดว่า ระบบใหม่นี้ ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทีมงานวางแผนที่จะทดสอบกับสัตว์ขนาดใหญ่ในขั้นตอนต่อไป ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้บริการตรวจสภาวะของหลอดเลือดและหัวใจ รวมทั้งการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ เพื่อการป้องกันอย่างทันท่วงที การรักษาด้วยขดลวด มีส่วนช่วยในการยับยั้งการเกิดของเซลล์ ซ่อมแซมผนังหลอดเลือด ในขณะที่การรักษาเดิม จะทำให้เกิดภาวะตีบซ้ำ สูงถึงร้อยละ25 การรักษาด้วยวิธีนี้ ใช้เวลา 1ชั่วโมงในการรักษา จากนั้นสามารถกลับบ้าน และใช้ชีวิตได้ปกติ

นักวิทยาศาสตร์ ในประเทศไทย

นักวิทยาศาสตร์ไทย 15 ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานอันโดดเด่น เนื่องในวันวิทยาศาสตร์ 18 สิงหาคม ตามไปอ่าน ประวัตินักวิทยาศาสตร์ไทย 15 คนกันเลย

“คนไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก” คำกล่าวนี้คงไม่ใช่สิ่งที่เกินความจริงนัก นั่นก็เพราะประเทศไทยมีบุคลากรที่เก่งกาจ และมีความสามารถมากมาย โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ ที่แม้ว่าประเทศไทยเองอาจจะไม่ได้ส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์มากนัก แต่กลับมีนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ของไทยสามารถสร้างผลงาน จนสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

วันวิทยาศาสตร์ ซึ่งตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี กระปุกดอทคอมเลยจะขอแนะนำสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีผลงานเด่น ๆ ให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกัน อ้อ…ขอบอกก่อนว่า บุคคลที่เรากล่าวถึงนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ไทยเท่านั้นนะคะ เพราะจริง ๆ แล้วยังมีคนไทยเก่ง ๆ อีกมากมายเลยทีเดียว ซึ่งคงไม่สามารถกล่าวได้หมด ณ ที่นี้อย่างแน่นอน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
พระองค์ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เนื่องจากสนพระราชหฤทัยเรื่องของวิทยาศาสตร์ เรขาคณิต ตรีโกณมิติ โดยเฉพาะดาราศาสตร์เป็นพิเศษ โดยพระองค์ทรงคำนวณปฏิทินจันทรคติแบบใหม่ที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง ซึ่งมีความแม่นยำถูกต้องตรงกับดวงจันทร์บนท้องฟ้ายิ่งกว่าปฏิทินที่ใช้อยู่เดิม และยังทรงคำนวณการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ได้ล่วงหน้าถึง 2 ปี อย่างแม่นยำ และในปัจจุบันนี้ ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษาด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำว่าเป็น “King of Siam’s Eclipse”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ปรมาจารย์แห่งวงการแพทย์
ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี เป็นนักวิชาการด้านสาธารณสุขและการศึกษาที่ได้รับการยกย่องในฐานะ “ราษฎรอาวุโส” โดยหลังจากจบการศึกษาแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งได้รับเหรียญทองในฐานะที่ทำคะแนนได้เป็นอันดับหนึ่งตลอดหลักสูตรแล้ว ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ ก็ได้รับทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาด้านการแพทย์ต่อที่สหรัฐอเมริกา และเมื่อจบการศึกษาแล้ว ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ ก็ได้เข้าศึกษาต่อด้านมนุษย์พันธุศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทำให้ท่านเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านพันธุศาสตร์
ทั้งนี้ ผลงานเด่นของศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ ก็คือ การค้นพบกลไกทางพันธุศาสตร์ของโรคอัลฟาธาลัสซีเมีย โดยพบว่ามียีนอัลฟาธาลัสซีเมีย 2 ชนิด และได้ให้ชื่อว่า อัลฟาธาลัสซีเมีย 1 และอัลฟาธาลัสซีเมีย 2 ซึ่งทำให้ท่านได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์) รวมทั้งยังได้รับรางวัลอีกมากมาย เช่น รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐ ได้รับเลือกเป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการแพทย์ รวมทั้งยังได้รับเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 อีกด้วย

ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล
ท่านเป็นนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ที่บุกเบิกการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรก ๆ ของประเทศไทย โดยท่านจบวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะไปต่อปริญญาโททางฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย และศึกษาปริญญาเอกทางดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย จนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ สำหรับผลงานเด่น ๆ ด้านดาราศาสตร์ ได้แก่ การศึกษาโครงสร้างของโครโมสเฟียร์ดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างอาณาจักรบริเวณกัมมันต์บนดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของบรรยากาศระดับโครโมสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ รวมทั้งเรื่องบรรยากาศของดวงอาทิตย์ เป็นต้น แต่บุคคลทั่วไปจะรู้จักท่านในช่วงปี พ.ศ. 2529 ที่ดาวหางฮัลเลย์เดินทางมาเยือนเมืองไทย รวมทั้งช่วงที่มีข่าวฝนดาวตก ซึ่งนับได้ว่า ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล เป็นผู้มีส่วนที่ทำให้สังคมไทยสนใจเรื่องดาราศาสตร์มากขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
ด้วยความที่ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน จบการศึกษาด้านฟิสิกส์ จากอิมพีเรียลคอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน ก่อนจะศึกษาต่อปริญญาโท และปริญญาเอก ด้านฟิสิกส์ของแข็งภาคทฤษฎี จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ สหรัฐอเมริกา ทำให้ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์เป็นอย่างยิ่ง และมีผลงานด้านการสร้างทฤษฎีอธิบายสมบัติพื้นฐานบางประการของสภาพนำยิ่งยวด รวมทั้งผลงานด้านวิชาการอีกมากมาย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติถึง 37 เรื่อง
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ยังได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2530 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ รวมทั้งรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2530 สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี และได้รับทุนวิจัยอื่น ๆ อีกมากมาย

ศาสตราจารย์ ดร.วิรุฬห์ สายคณิต
ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นคนแรกของไทย ประจำปี พ.ศ. 2525 สาขาฟิสิกส์ โดยเป็นผู้บุกเบิกในการนำทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory) แบบไฟน์แมน (Feynman) มาประยุกต์กับเรื่องของฟิสิกส์ของสภาวะของแข็ง (Condensed Matter Physics) และได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้ติดต่อกันนานกว่า 30 ปี จนสามารถสร้างผลงานนำทฤษฎีของไฟน์แมนมาประยุกต์กับปัญหาของระบบที่ไร้ระเบียบ และนำเสนอทฤษฎีควอนตัมแบบไฟน์แมนประยุกต์กับปัญหาต่าง ๆ ซึ่งงานวิจัยทั้ง 2 เรื่องถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม และถูกนำไปใช้อ้างอิงในงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติเป็นจำนวนมาก

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
เป็นที่ฮือฮาอย่างมากในช่วงปี พ.ศ. 2538 เมื่อ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นวิจัยยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ในประเทศไทย จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ “ZIDOVUDINE” (AZT) ซึ่งเป็นยาต้านเอดส์ลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกเป็นครั้งแรกของโลก และได้เดินทางไปถ่ายทอดการผลิตยาในหลายประเทศในทวีปแอฟริกานานหลายปี จนได้รับฉายาว่า “เภสัชกรยิปซี”
โดยกว่า 30 ปีที่ ดร.กฤษณา ได้ทุ่มเทกับการทำงานเพื่อผลักดันให้ผู้ป่วยยากไร้ทั่วโลกได้มีโอกาสใช้ยารักษาโรคเอดส์ ก็ส่งผลให้ท่านได้รับรางวัล “บุคคลแห่งปีของเอเชีย ประจำปี ค.ศ. 2008” จากนิตยสารรีดเดอร์ส ไดเจสท์ รวมทั้งรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist Award) ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก Letters Foundation ประเทศนอร์เวย์ อีกทั้งยังเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จาก Mauny Holly Oke College, USA อีกด้วย

ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี
นักคณิตศาสตร์ที่ได้รับรางวัลการันตีมาแล้วมากมายจากทั่วโลก รวมทั้งรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2541 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2550 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ทุกรางวัลที่ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี ได้รับนั้น ล้วนมาจากความทุ่มเทวิจัยด้านการนำกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใหม่ ๆ ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ และระบบต่าง ๆ ในทางชีววิทยาและการแพทย์ รวมไปถึงระบบทางนิเวศวิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ ที่สร้างประโยชน์มากมายต่อวงการศึกษา การแพทย์ และการวิจัยของไทย

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์
เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2529 และรางวัลนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่นอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2538 โดยมีผลงานสำคัญคือ การวิจัยค้นพบสมุนไพรรักษามะเร็งเป็นคนแรกของโลก รวมทั้งงานวิจัยด้านสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเชื้อรา และงานวิจัยด้านอินทรีย์เคมีสังเคราะห์อีกหลายชิ้น ซึ่งงานวิจัยของท่านกว่า 118 เรื่อง ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล รวมกว่า 1,016 ครั้ง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ
เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2536 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้วยผลงานด้านพยาธิวิทยา ที่ศึกษาพบว่าสาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งพบมากในผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ อาจมาจากการที่สารก่อมะเร็งที่อยู่ในอาหารไปกระตุ้นเซลล์ของระบบท่อน้ำดี ซึ่งถูกรบกวนจากพยาธิใบไม้เป็นเวลานาน ๆ นอกจากนี้ ท่านยังมีผลงานศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านอิมมิวโน พยาธิวิทยาของโรคไข้เลือดออกในเด็ก ซึ่งก่อให้เกิดการประยุกต์รักษาผู้ป่วยได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ท่านยังได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณมากมาย แต่รางวัลที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยมากที่สุดก็คือ รางวัล Pasteur Medal จากองค์การยูเนสโก และสถาบันปาสเตอร์ของ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์เอกของโลกนั่นเอง

ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านเป็นคนแรกของสาขาวิชาวนศาสตร์ของประเทศไทยที่ได้รับปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ริเริ่มชักชวนอาจารย์หลายท่านให้หันมาร่วมกันทำงานด้านนิเวศวิทยาป่าไม้ โดยทำวิจัยและรวบรวมข้อมูลนับสิบปี จนมีผลงานการวิจัยเกี่ยวกับป่าไม้ออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนการสอนในวิชาด้านสิ่งแวดล้อม
ด้วยความสามารถและความมุ่งมั่น ส่งผลให้ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นแห่งชาติสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ไทยคนแรกที่เป็นที่ปรึกษาองค์การยูเนสโก